กฏจราจรและมารยาทในการขับขี่
ทางด่วนเป็นถนนที่รถยนต์สามารถแล่นด้วยความเร็วสูงได้ ผู้ขับขี่ที่ไม่ใส่ใจการแจ้งเตือน และฝ่าฝืนกฎจราจร จะนำไปสู่กอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ขอให้ทุกท่านสังเกตกฎจราจรทุกข้อ เพื่อให้การขับขี่บนทางด่วนเป็นไปอย่างปลอดภัย
- ขับรถด้วยความเร็วที่ปลอดภัย
- ขับเว้นระยะห่างจากรถคันหน้า
- อย่าขับรถตัดหน้ารถคันอื่น!
- ขับรถโปรดระวัง!
- อย่าหยุดหรือจอดรถบนทางด่วน!
- อย่าขับรถบนไหล่ทาง!
- อย่าขับรถแช่เลนขวา!
- วิ่งรถทางเดียวบนทางด่วน!
- เตือนรถคันที่ขับตามมาว่ามีการจราจรติดขัดอยู่ข้างหน้า
- ระวังการใช้ไฟสูง!
- สำรวจตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนออกเดินทาง
ขับรถในความเร็วที่ปลอดภัยและขับตามการจำกัดความเร็ว
ความเร็วสูงสุดของการขับขี่บนท้องถนน เป็นความเร็วที่จำกัดไว้เฉพาะถนนทั่วไป ผู้ขับขี่ทุกรายต้องใช้อัตราความเร็วจำกัดที่สอดคล้องกับสภาพถนนและสภาพการจราจร ผู้ขับขี่แต่ละรายต้องรับผิดชอบในการขับรถด้วยอัตราความเร็วที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายบนท้องถนน และควรจำไว้เสมอว่า การขับขี่ภายใต้ความเร็วที่กำหนดย่อมปลอดภัยกว่า
นอกจากนี้ตำรวจทางด่วนอาจกำหนดความเร็วให้ช้ากว่าที่แจ้งไว้ที่ป้ายทางด่วนเป็นการชั่วคราว (เช่น ประมาณ 50 กม./ชั่วโมง) อันเนื่องมาจากสภาพอากาศ การซ่อมถนนหรือเหตุผลอื่น สังเกตป้ายถนนอยู่เสมอ และขับรถด้วยอัตราความเร็วปลอดภัยที่เหมาะสมตามสภาพถนนและสภาพการจราจร
อัตราความเร็วกำหนดบนทางด่วน
- ทางด่วนที่แจ้งอัตราความเร็วกำหนด: ใช้อัตราความเร็วกำหนดตามที่แจ้ง
- ทางด่วนที่ไม่ได้แจ้งอัตราความเร็วกำหนด: ใช้อัตราความเร็วกำหนดตามกฎหมาย
อัตราความเร็วกำหนดบนทางด่วนตามกฎหมาย
ประเภทรถยนต์ | อัตราความเร็วกำหนด |
---|---|
รถขนาดใหญ่, รถทั่วไป (ไม่รวมรถสามล้อ), รถสองล้อขนาดใหญ่, รถสองล้อทั่วไป |
100 |
พาหนะอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างบน เมื่อพ่วงยานพาหนะอื่น |
80 |
- อัตราความเร็วกำหนดบนถนนหากมีการก่อสร้างโดยที่ไม่มีเลนพิเศษในแต่ละฝั่ง คือ 60 กม./ชั่วโมง ความเร็วเท่ากับความเร็วบนถนนปกติ
- รถขนาดเบาที่มีเครื่องยนต์ต่ำกว่า 600 ซีซี ตามกฎหมายจัดเป็นประเภทรถยนต์ทั่วไป
- การมียานพาหนะอื่นต่อพ่วงระหว่างวิ่งบนทางด่วน อนุญาตให้ทำได้หากโครงสร้างและอุปกรณ์ในการต่อพ่วงมีความเหมาะสม และรถที่ถูกพ่วงก็มีโครงสร้างและอุปกรณ์ในการต่อพ่วงที่มีความเหมาะสม
รักษาระยะห่างจากรถคันหน้า
การขับขี่ยานพาหนะที่มียางล้อใหม่บนพื้นถนนที่แห้ง ท่านจำเป็นต้องเว้นระยะห่างระหว่างรถประมาณ 100 เมตร ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. และ 80 เมตร ที่ความเร็ว 80 กม./ชม.
หากขับขี่ยานพาหนะที่ยางล้อรถเก่าบนถนนเปียกน้ำฝน ท่านจำเป็นต้องเว้นระยะห่างเป็นสองเท่า
สรุปคือ ท่านจำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ สภาพถนน ล้อรถ และปัจจัยอื่นๆ ในการรักษาระยะห่างที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการชนปะทะ หากรถคันหน้ามีการหยุดรถกะทันหันด้วยเหตุผลบางอย่าง
อย่าขับรถตัดหน้ารถคันอื่น!
อย่าเปลี่ยนเลนโดยไม่จำเป็น อย่าเปลี่ยนเลนที่ทำให้รถที่ตามมาข้างหลังต้องเบรกรถกะทันหัน หรือต้องหักหลบเพื่อไม่ให้ชนท่าน ระหว่างเปลี่ยนเลน จะต้องมองกระจกหลังเสมอ และมองข้ามไหล่เพื่อดูรถที่ขับตามมา ปกติแล้ว การเปลี่ยนเลนและขับตัดหน้ากะทันหัน ทำให้ผู้ขับขี่จะต้องหักพวงมาลัยกะทันและกระทืบเบรค ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
ขับรถโปรดระวัง!
รถที่ขับด้วยความเร็ว 100 กม./ชั่วโมง จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 28 เมตร/วินาที การละสายตาจากถนนบนทางด่วนแค่เพียงชั่วขณะ อาจนำไปสู่การชนท้ายและเหตุการณ์รถชนซ้อนหลายคันได้ ระหว่างขับขี่ พยายามอย่าเหม่อลอย หรือมัวแต่มองทิวทัศน์ข้างทางหรือสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจอื่นๆ จงมองแต่ถนนตรงหน้าท่านเท่านั้น
อย่าหยุดหรือจอดรถบนทางด่วน!
การหยุดรถหรือจอดรถบนทางด่วน ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายจราจร การหยุดรถบนไหล่ทางหรือขอบถนน เป็นสิ่งที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะรถที่ขับเข้ามาอาจชนท้ายรถของท่านได้ นอกจากนี้ การจอดรถที่ไหล่ทางด้านหน้าด่านชำระค่าทางด่วน ด่านชำระเงิน หรือที่ใดก็ตามเพื่อรอให้ถึงเวลาใช้ส่วนลดของบัตร ETC ไม่เพียงแต่ถูกปรับตามกฎหมายเท่านั้น ยังเป็นอันตรายต่อรถคันอื่นด้วย หากต้องการพัก กรุณาใช้จุดบริการหรือจุดพักรถที่ใกล้ที่สุด
หากไม่ใช่กรณียกเว้นดังต่อไปนี้ ไม่อนุญาตให้จอดรถบนทางด่วน การฝ่าฝืนดังกล่าวต้องเสียค่าปรับภายใต้กฎจราจร
- หยุดจอดรถชั่วคราวเพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายแรง
- จอดรถบนไหล่ทางหรือขอบถนนที่มีความกว้างไม่มากพอ เนื่องมาจากรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ
- จอดรถเพื่อเสียค่าผ่านด่าน
อย่าขับรถบนไหล่ทาง!
การจอดรถบนไหล่ทางด่วน ทำได้ในกรณีที่จำเป็นต้องหยุดรถชั่วคราวอันเนื่องจากอุบัติเหตุหรือรถเสีย ไหล่ทางมีไว้สำหรับรถตำรวจ รถพยาบาล หรือยานพาหนะฉุกเฉินอื่นๆ ที่ต้องใช้วิ่งในกรณีฉุกเฉิน
การขับรถกีดขวางอยู่บนไหล่ทาง เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของยานพาหนะฉุกเฉิน ฉะนั้น อย่าขับรถบนไหล่ทาง แม้ว่าการจราจรติดขัดก็ตาม
อย่าขับรถแช่เลนขวา!
สำหรับสถานการณ์ดังต่อไปนี้ อนุญาตให้ขับรถในเลนแซงได้
- - เมื่อมีการกำหนดด้วยป้ายถนนและเครื่องหมายให้ใช้เป็นเลนสำหรับวิ่งได้
- - เมื่อต้องการแซงรถคันอื่น
- - เมื่อท่านยังคงต้องอยู่ในเลนแซงเพราะไม่สามารถวิ่งกลับเลนได้
- - เมื่อจำต้องหลีกทางชั่วคราวให้กับรถฉุกเฉิน
- - เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขับอยู่บนเลนแซงอันเนื่องจากสภาพถนนหรือเงื่อนไขอื่น
กรณีที่ยังคงขับรถในเลนแซงต่อไปแม้ว่าได้แซงรถผ่านไปแล้ว และสามารถที่จะหักรถกลับมาในเลนปกติได้ ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎจราจร เมื่อขับแซงรถคันอื่นแล้ว ท่านต้องกลับเข้าเลนที่อยู่ทางขวาของเลนปกติ ท่านไม่สามารถเพิ่มความเร็วเกินกว่าอัตราความเร็วที่กำหนดของทางด่วนได้ แม้ว่าระหว่างแซงรถคันอื่นก็ตาม
- "เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขับรถในเลนแซงได้ อันเนื่องมาจากสภาพของถนน” หมายความว่าถนนที่เป็นทางรถวิ่งดังกล่าวไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากชำรุด มีการก่อสร้าง หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ และเมื่อเลนรถปกติหนาแน่นเกินกว่าสามารถหักรถกลับเข้าได้ทันทีหลังจากแซงรถคันหน้าเรียบร้อยแล้ว
วิ่งรถทางเดียวบนทางด่วน!
การขับรถผิดทางบนทางด่วนเกิดขึ้นเมื่อมีการขับรถผิดทางจากจุดบริการและจุดพักรถ เพื่อกลับรถเข้าไปสู่ถนนหลัก เมื่อขับเลยทางออกที่ทางแยกต่างระดับ และเมื่อกลับรถบนถนนหลักหรือใกล้กับด่านเก็บเงิน
ทางด่วนเป็นถนนเดินรถทางเดียว ความประมาทของคนๆ เดียว นำไปสู่อุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ร้ายแรงได้ ดังนั้น พึงสังเกตป้ายถนนหรือเครื่องหมายที่บอกทิศทางในการขับรถ เพื่อป้องกันการขับรถผิดทางบนทางด่วน
เมื่ออยู่หางแถวของรถติด เปิดไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนรถที่ตามมาข้างหลัง
รถที่อยู่ตรงกลางจนถึงหางแถวของรถติด มักเสียหายจากการถูกชนท้าย หากเห็นแถวรถติดตรงหน้า ให้ลดความเร็วของรถหรือหยุด เปิดไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนรถที่ตามมาข้างหลัง
ระวังการใช้ไฟสูง!
รถที่ขับขี่บนทางด่วนใช้ความเร็วสูงกว่ารถที่ขับขี่บนถนนปกติ และผู้ขับขี่จำเป็นต้องรู้สภาพถนนและสภาพการจราจรที่อยู่เบื้องหน้ามากกว่าผู้ขับขี่บนถนนปกติ ด้วยเหตุผลดังกล่าว เมื่อขับรถผ่านอุโมงค์และสถานที่อื่นที่ทัศนวิสัยต่ำบนทางด่วน ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ตามหลักแล้วท่านควรเปิดไฟหน้าเพื่อเพิ่มการมองเห็นในระยะที่ไกลขึ้นเมื่อเทียบกับถนนปกติ
ยิ่งกว่านั้น เมื่อรถวิ่งสวนกัน ผู้ขับขี่ควรปรับความสว่างและมุมของไฟลงเพื่อไม่เป็นการรบกวนสายตาผู้ขับขี่รายอื่น
การใช้ไฟสูงหรือไฟต่ำ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของถนน (เช่น มีถนนเลนกลางหรือไม่) รวมถึงสภาพการจราจรด้วย (เช่น มีการจราจรบนถนนฝั่งตรงข้ามหรือไม่) และผู้ขับขี่ควรต้องปรับมุมของไฟหน้าเพื่อไม่รบกวนสายตาของผู้ขับขี่รายอื่น
นอกจากนี้ การเปิดไฟตัดหมอกเป็นการบอกผู้ขับขี่อื่นๆ ให้รู้ตำแหน่งของท่าน ฉะนั้น อย่าลืมเปิดไฟตัดหมอกตอนขับขี่ในช่วงหัวค่ำ หรืออยู่ในอุโมงค์
ตรวจสอบทุกอย่างพร้อมก่อนออกเดินทาง
การจอดรถบนไหล่ทางด่วน ทำได้ในกรณีที่จำเป็นต้องหยุดรถชั่วคราวอันเนื่องจากอุบัติเหตุหรือรถเสีย ไหล่ทางมีไว้สำหรับรถตำรวจ รถพยาบาล หรือยานพาหนะฉุกเฉินอื่นๆ ที่ต้องใช้วิ่งในกรณีฉุกเฉิน
การขับรถกีดขวางอยู่บนไหล่ทาง เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของยานพาหนะฉุกเฉิน ฉะนั้น อย่าขับรถบนไหล่ทาง แม้ว่าการจราจรติดขัดก็ตาม
การจัดลำดับการเข้าไปที่
"DoRaPuRa"
- ค้นหาค่าทางด่วน-เส้นทาง
- ค้นหาจุดบริการ